วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  31 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 12



"วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน"
เนื่องจากให้นักศึกษาไปช่วยกันดูเรื่อง งานกีฬาสี 
และกลุ่มเรียนของพวกหนูก็ได้ทำพู่



รูปภาพของเพื่อน ๆ ที่ช่วยกันทำพู่





วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  24 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 11



สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน 
แต่เป็นสัปดาห์ของการ "สอบเก็บคะแนน" 
โดยเป็นข้อสอบแบบ ข้อเขียน จำนวน 5 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน ทั้งหมด 10 คะแนน




วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  17 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 10


การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

*เด็กควรเลือกที่จะทำอะไรได้โดยอิสระ อยากทำอะไรก่อนก็ทำ 
แต่ควรให้ทำอะไรด้วยนเองและให้อิสระในการตัดสินใจ







การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามคามสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
*ถ้าเด็กเริ่มทำอะไรเป็นครั้งแรก เขาจะมีความมั่นใจในตนเองมากและจะเกิิดพฤติกรรมนั้น ๆ ซ้ำ ๆ ในแต่ละวัน และเด็กก็จะนำผลงานของตนเองมาโชว์ให้คุณครูดูทุกครั้งหลังจากทำเสร็จ บทบาทของครุ คือ ครูต้องใจเย็น ห้ามรำคาญเขาเวลาที่เด็กนำผลงานของเขามาโชว์หลาย ๆ รอบ ต้องชื่นชมเขา และพยายามองทุกอย่างที่เขาทำให้เป็นข้อดี ผลดีกับตัวเด็ก 


ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี


หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)*
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่าง ๆ ให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- หนูทำช้า หรือ หนูยังทำไม่ได้ (ห้ามพูด)

จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร, หงุดหงิด, เบื่อ, ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)



ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นชั้นย่อย ๆ 
- เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
- กดชักโครกหรือตักน้ำราด
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้องส้วม
*การที่ครูต้องย่อยงานขนาดนี้ เพราะถ้าครูบอกไม่ละเอียดทำให้น้องไม่รู้เรื่องและครูพูดทุกครั้งเพื่อทำให้น้องรู้ว่าน้องต้องทำอะไรบ้าง

การวางแผนทีละขั้น
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อย ๆ ให้มากที่สุด



สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้น ๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็ก ๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
*ความสำเร็จเล็ก ๆ ของเด็ก ๆ จะทำให้เด็กนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่


กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน







เพลงเก็บเด็ก



การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสามารถนำทักษะการช่วยเหลือตนเองมาให้เด็ก ๆ ไปปฏิบัติ เพื่อที่เด็กจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ เป็นการฝึกให้เด็กได้ทำอะไรได้ด้วยตนเอง

การประเมินตนเอง
- แต่งกายเรียบร้อย แล้วก็ตั้งใจจดเนื้อหาที่อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติม จากใน Power Point รวมทั้งตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนกับเพื่อนในห้องอย่างสนุกสนาน
การประเมินเพื่อน
- เพื่อน ๆ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน อาจจะเสียงดังไปบ้างแต่ก็ทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศที่น่าเรียน และไปตึงเครียด ทุกคนทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์จะหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำสอนทุกครั้ง และมีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากข้อมูลใน Power Point อาจารยืยังยกตัวอย่างและเล่าเหตุการณ์แต่ละกรณีให้ฟังเพื่อให้นักศึกษาเข้า และมองเห็นภาพมากขึ้น

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  10 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 9


สิ่งที่ได้เรียนไปในวันนี้
วันนี้อาจารย์ขอเปลี่ยนเวลาเรียน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
จึงขอเปลี่ยนเวลาจาก 14:00-16:30 น. เป็นเวลา 09:00-11:30 น. 
เป็นการเรียนรวม 2 กลุ่มการเรียน


การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ



ทักษะทางภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่าง ๆ ไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม


การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง


การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้า ๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน


ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้พิเศษ
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
**ทักษะพื้นฐานทางภาษาของเด็กปกติ ฟัง พูด อ่าน เขียน ส่วนเด็กพิเศษก็จะเน้น ทักษะการรับรู้ภาษา และการแสดงออกทางภาษา แต่การแสดงออกทางภาษานี้ จะเป็นการแสดงออกถึง ปฏิกิริยาอย่างอื่น แต่ไม่ค่อยพูด 


พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก


**การประเมินพฤติกรรมของเด็ก ไม่มีการตอบสนองเลย ครูต้องรีบเข้ามาช่วยแก้ไขปรับปรุงด่วน"


ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
**ในเมื่อเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูควรจะเข้าไปช่วยโดยการที่ให้เด็กบอกความต้องการของเด็กก่อน โดยครูจะถามคำถามเด็กก่อนว่า หนูทำอะไรอยู่ค่ะ? หนูทำไมได้หรอค่ะ? ให้ครูช่วยไหมค่ะ? พูดตามครูซิค่ะ "ที่คาดผม"? แต่ถ้าเด็กยังไม่มีการตอบสนองวิธีสุดท้ายที่ครูจะทำคือ จับมือเด็กทำเลย


การสอนตามเหตุการณ์
(Incidental Teaching)



**ใช้กับเด็กพิเศษกรณีเดียวกับการใส่ที่คาดผม/ติดกระดุม/สวมผ้ากันเปื้อน


อาจารย์ก็เล่าให้ฟัง กรณี "เด็ก CP ครึ่งซีกด้านขวา"

น้องไม่เคยพูดเลยตั้งแต่เกิด แต่ผู้ปกครองก็ยังส่งน้องมาเรียนตามปกติ 
ในบทบาทของครู ครูควรจะเข้าไปพูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ พูดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ เช่น เรียกชื่อน้องบ่อย ๆ 
เวลาผ่านมาประมาณ 1 เดือน สิ่งที่ทำให้ครูตกใจ คือ
น้องลุกขึ้นไปยืนบนโต๊ะครู แล้วตะโกนพูดชื่อของตัวเอง

สิ่งที่ครูรู้สึกได้ครั้งแรก ตกใจ และดีใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น 
คือครูสามารถทำให้เด็กคนหนึ่งที่ไม่พูดเลยตั้งแต่เกิด กลับมาเริ่มพูดได้


Post Test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง ?

- ครูพูดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ กับเด็กบ่อย ๆ 
- ครูควรไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ครูควรใช้คำถามปลายเปิด
- ครูไม่ควรพูดขัดขณะเด็กกำลังพูดอยู่
- ครูไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- ครูห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้า ๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"


กิจกรรมภายในห้องเรียน


 



กิจกรรมคู่ของดิฉัน




ผลงานของเพื่อนคู่อื่น ๆ



เพลงเก็บเด็ก



การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสามารถนำบทบาทของครูที่จะทำให้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษมีทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น โดยถ้าเรานำวิธีการที่เข้าหาเด็กได้ถูกต้องถูกวิธีก็ทำให้เด็กมีพัฒนาการเรื่องทักษะทางภาษาของเด็กพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

การประเมินตนเอง
- แต่งกายเรียบร้อย อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้าง แล้วก็ตั้งใจจดเนื้อหาที่อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติม จากใน Power Point รวมทั้งตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนกับเพื่อนในกลุ่ม และเพื่อนอีกกลุ่ม อย่างเต็มที่

การประเมินเพื่อน
- เพื่อน ๆ ทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย น่ารัก

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์จะหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำเพื่อให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายก่อนการเรียนการสอน และอาจารย์ก็ยังแนะนำถึงเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครู ว่าเป็นอย่างไร รุ่นพี่ที่สอบติดเป็นอย่างไร มีการเล่าประสบการณ์ของรุ่นพี่ให้ฟังว่าการสอบมีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร มีคำถามตอนสัมภาษณ์ประมาณไหน? หลังจากการสอนเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้ทำกิจกรรมโดยการจับคู่ อาจารย์มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่เราสามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงอาจารย์ก็ได้ให้ร้องเพลงทบทวนเพลงจากสัปดาห์ก่อน