IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจน
แม้จะกว้าง
น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน
(ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์
ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ
โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง
หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน
และเกณฑ์วัดผล
กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 4-5 คน เพื่อให้เขียนแผน IEP
ก่อนที่อาจารย์จะให้ลงมือทำอาจารย์ได้อธิบายวิธี ขั้นตอนการทำให้ฟังก่อนว่า
แต่ละอันคืออะไร แบบไหน อย่างไร
โดยให้นักศึกษาเลือกเพื่อนขึ้นมา 1 คน และช่วยกันเขียนแผนให้เสร็จพร้อมส่งในคาบ
การบ้าน
อาจารย์ได้ให้จับคู่กับเพื่อน 2 คน ซึ่งสลับกันเขียนแผน IEP ของเพื่อน
การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสามารถนำการเขียน IEP มาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเด็กแต่ละคนไม่ตรงตามจุดประสงค์
การประเมินตนเอง
- แต่งกายเรียบร้อย อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้าง แล้วก็ตั้งใจจดเนื้อหาที่อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติม จากใน Power Point รวมทั้งตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนกับเพื่อนในกลุ่ม และเพื่อนอีกกลุ่ม อย่างเต็มที่
การประเมินเพื่อน
- เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และช่วยกันทำงานกลุ่มของตนเองอย่างรวดเร็ว
การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์จะหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำเพื่อให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายก่อนการเรียนการสอน และอาจารย์ก็ยังอธิบายเนื้อหาให้ฟังอย่างละเอียด อาจารย์ใจดีพร้อมที่จะให้คำแนะนำกับนักศึกษาตลอดเวลา ทำให้นักศึกษากล้าที่จะถามตรงที่สงสัย หรือไม่เข้าใจ