วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  3 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 8


การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ
ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่าง ๆ อย่างมีความสุข
**สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่จะไม่มีผลกับตัวเด็ก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง**


กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรก ๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
**หน้าที่ของคนเป็นครู ควรจะสอนเด็กว่าเวลาที่เด็กเจอสิ่งขีดขวางควรทำอย่างไร** 
เช่น เด็ก ๆ ควรจะเดินอ้อม หรือเดินหลบสิ่งขีดขวางนั้นนะค่ะ หรือไม่ก็เด็ก ๆ ควรจะยกสิ่งขีดขวางนั้น ออกไปวางให้พ้นทาง และเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ควรเดินข้าม หรือเตะสิ่งขีดขวางนั้นนะค่ะ

ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลาย ๆ คนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร 
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP
**ครูจะต้องสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างมีระบบ และต้องจดบันทึกเสมอ**
เช่น ครูต้องจดบันทึกเสมอว่า เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมในการเล่น การอยู่ร่วมกับเพื่อนในห้องอย่างไร มีอะไรตรงไหนไหม? ที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง ถ้ามีครูควรจะรีบเข้าไปแก้ไขปรับปรุง เพื่อทำให้เด็กจะไม่รู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากเพื่อนในห้องเรียน


การกระตุุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุก ๆ คน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็ก 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครู ให้เด็กพิเศษ
**ซึ่งการให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม อาจจะแบ่งเป็น เด็กปกติ 3 คน เด็กพิเศษ 1 คน และการเล่นเป็นกลุ่มนี้จะทำให้เด็ก ๆ เขาคอยสอน คอยบอก และช่วยเหลือกันเอง**


ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม



จากรูปภาพ คือ กิจกรรมการเล่นทราย
โดยครูจะให้เด็ก ๆ ได้เล่นทรายด้วยมือเปล่าก่อน หลังจากเด็ก ๆ ได้เล่นเสร็จจนเริ่มเบื่อแล้ว 
ครูควรเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำ พั่ว แก้ว กรวย หรือตะกร้า เป็นต้น
ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ที่ครูเตรียมมานี้จะเด็กทีละอย่าง และแต่ละอย่างต้องมีจำนวนครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็ก
เช่น เด็กแบ่งกลุ่มเล่นกันจำนวน 4 คน ครูก็เอาพั่ว มาให้เด็ก ๆ 2 อัน 
เพื่อยืดเวลาในการเล่นกิจกรรมของเด็ก เพื่อนทำให้เด็กตื่นเต้นสนใจกับวัสดุอุปกรณ์
ที่ครูเตรียมมาให้ เพื่อฝึกทักษะทางสังคมของเด็ก เพราะเด็กจะได้รู้จักแบ่งปัน
วัสดุอุปกรณ์ให้เพื่อนในกลุ่มได้เล่น เด็กได้รู้จักการรอคอย และทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น


การให้แรงเสริมทาางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย "การพูดนำของครู"



จากรูปภาพที่เห็น คือ เด็กรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่กล้าเข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน เพราะ 
1. กลัวว่าเข้าไปเล่นในกลุ่มกับเพื่อนแล้วตัวเองจะเล่นไม่เป็น
2. กลัวว่าเข้าไปเล่นในกลุ่มกับเพื่อนแล้วเพื่อนไม่ยอมเล่นด้วย
ครูควรจะเข้ามาแก้ไขปัญหาให้เด็กโดยการที่ครูอาจจะสร้างความสนใจให้หับเด็กพิเศษ
เพื่อทำให้เด็กปกติสนใจในตัวเด็กพิเศษ และยอมเข้ามาเล่นร่วมกับเด็กพิเศษ โดยครูจะนั่งอยู่ใกล้ ๆ


ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาส
- เด็กพิเศษต้องเรยนรู้สิทธิต่าง ๆ เหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


Post Test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง ?

- ให้เด็กปกติช่วยเหลือเด็กพิเศษ
- ให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 คน และควรมีเด็กปกติ 3 คน เด็กพิเศษ 1 คน
- ครูควรมีการพูดชักนำเด็ก
- ครูควรมีสื่อวัสดุ อุปกรณ์ เพิ่มเติม เพื่อยืดเวลาในการทำกิจกรรมของเด็กให้นานขึ้น
- เด็กทุกคนในห้องต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน


กิจกรรมภายในห้องเรียน

 


ผลงานของคู่ดิฉัน 


ผลงานของเพื่อนคู่อื่น ๆ



เพลงเก็บเด็ก



การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสามารถนำวิธีการจัดกิจกรรมของเด็ก มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เด็กทั้ง เด็กปกติ และเด็กพิเศษ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้เกิดดทักษะทางสังคม ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เด็กพิเศษไม่รู้สึกว่าตัวเองนั้นแตกต่างไปจากเพื่อนคนอื่น ๆ 

การประเมินตนเอง
- แต่งกายเรียบร้อย อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้าง แล้วก็ตั้งใจจดเนื้อหาที่อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติม จากใน Power Point รวมทั้งตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนกับเพื่อน อย่างเต็มที่

การประเมินเพื่อน
- เพื่อน ๆ แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ตลอด มีส่วนร่วมกันทุกกิจกรรม แล้วยังตั้งใจทำกิจกรรม เพื่อให้ผลงานของตนเองออกมาดูดี เหมาะสมกับนักศึกษาปริญญาตรีทำขึ้น

การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์จะหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำเพื่อให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายก่อนการเรียนการสอน หลังจากนั้นก็เริ่มเรียนเนื้อหา อาจารย์ก็ได้อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยการมีการถาม เพื่อให้นักศึกษาช่วยกันตอบ และให้ช่วยกันทำกิจกรรม พอทำกิจกรรมกันเสร็จ อาจารย์ยังมีเพลงเก็บเด็กมาใหม่เพื่อให้นักศึกษาฝึกร้องกันอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น