การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่าง ๆ ไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้า ๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้พิเศษ
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
**ทักษะพื้นฐานทางภาษาของเด็กปกติ ฟัง พูด อ่าน เขียน ส่วนเด็กพิเศษก็จะเน้น ทักษะการรับรู้ภาษา และการแสดงออกทางภาษา แต่การแสดงออกทางภาษานี้ จะเป็นการแสดงออกถึง ปฏิกิริยาอย่างอื่น แต่ไม่ค่อยพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
**การประเมินพฤติกรรมของเด็ก ไม่มีการตอบสนองเลย ครูต้องรีบเข้ามาช่วยแก้ไขปรับปรุงด่วน"
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
**ในเมื่อเด็กทำอะไรไม่ได้ ครูควรจะเข้าไปช่วยโดยการที่ให้เด็กบอกความต้องการของเด็กก่อน โดยครูจะถามคำถามเด็กก่อนว่า หนูทำอะไรอยู่ค่ะ? หนูทำไมได้หรอค่ะ? ให้ครูช่วยไหมค่ะ? พูดตามครูซิค่ะ "ที่คาดผม"? แต่ถ้าเด็กยังไม่มีการตอบสนองวิธีสุดท้ายที่ครูจะทำคือ จับมือเด็กทำเลย
การสอนตามเหตุการณ์
(Incidental Teaching)
**ใช้กับเด็กพิเศษกรณีเดียวกับการใส่ที่คาดผม/ติดกระดุม/สวมผ้ากันเปื้อน
อาจารย์ก็เล่าให้ฟัง กรณี "เด็ก CP ครึ่งซีกด้านขวา"
น้องไม่เคยพูดเลยตั้งแต่เกิด แต่ผู้ปกครองก็ยังส่งน้องมาเรียนตามปกติ
ในบทบาทของครู ครูควรจะเข้าไปพูดคุยกับเด็กบ่อย ๆ พูดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ เช่น เรียกชื่อน้องบ่อย ๆ
เวลาผ่านมาประมาณ 1 เดือน สิ่งที่ทำให้ครูตกใจ คือ
น้องลุกขึ้นไปยืนบนโต๊ะครู แล้วตะโกนพูดชื่อของตัวเอง
สิ่งที่ครูรู้สึกได้ครั้งแรก ตกใจ และดีใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
คือครูสามารถทำให้เด็กคนหนึ่งที่ไม่พูดเลยตั้งแต่เกิด กลับมาเริ่มพูดได้
Post Test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง ?
- ครูพูดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ กับเด็กบ่อย ๆ
- ครูควรไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ครูควรใช้คำถามปลายเปิด
- ครูไม่ควรพูดขัดขณะเด็กกำลังพูดอยู่
- ครูไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- ครูห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้า ๆ" "ตามสบาย" "คิดก่อนพูด"
กิจกรรมภายในห้องเรียน
กิจกรรมคู่ของดิฉัน
ผลงานของเพื่อนคู่อื่น ๆ
เพลงเก็บเด็ก
การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสามารถนำบทบาทของครูที่จะทำให้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษมีทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น โดยถ้าเรานำวิธีการที่เข้าหาเด็กได้ถูกต้องถูกวิธีก็ทำให้เด็กมีพัฒนาการเรื่องทักษะทางภาษาของเด็กพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
การประเมินตนเอง
- แต่งกายเรียบร้อย อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้าง แล้วก็ตั้งใจจดเนื้อหาที่อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างเพิ่มเติม จากใน Power Point รวมทั้งตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนกับเพื่อนในกลุ่ม และเพื่อนอีกกลุ่ม อย่างเต็มที่
การประเมินเพื่อน
- เพื่อน ๆ ทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ แต่งกายเรียบร้อย น่ารัก
การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์จะหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำเพื่อให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายก่อนการเรียนการสอน และอาจารย์ก็ยังแนะนำถึงเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการครู ว่าเป็นอย่างไร รุ่นพี่ที่สอบติดเป็นอย่างไร มีการเล่าประสบการณ์ของรุ่นพี่ให้ฟังว่าการสอบมีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร มีคำถามตอนสัมภาษณ์ประมาณไหน? หลังจากการสอนเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้ทำกิจกรรมโดยการจับคู่ อาจารย์มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่เราสามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงอาจารย์ก็ได้ให้ร้องเพลงทบทวนเพลงจากสัปดาห์ก่อน