บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 17 กุมภาพันธ์ 2558 ครั้งที่ 6
ทักษะของครูและทัศนคติ
ความยืดหยุ่น
- การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
- ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
- ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่น ๆ
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
- เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้เสริมแรง
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
- ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมก
- มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
- หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
- ตอบสนองด้วยวาจา
- การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
- พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
- สัมผัสทางกาย
- ให้ความช่วยเหลือ, ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
- ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
- ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
- ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (Prompting)
- ย่อยงาน
- ลำดับความยากง่ายของงาน
- การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู้ความสำเร็จ
- การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
- สังเกตและกำหนมจุดมุ่งหมาย
- วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
- สอนจากง่ายไปยาก
- ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
- ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
- ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทีละขั้นไม่เร่งรัด "ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น"
- ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
- จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
- เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
- สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
เด็กตักซุป
- การจับช้อน
- การตัก
- การระวังไม่ให้น้ำในชอนหกก่อนที่จะเข้าปาก
- การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
- การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเ
- ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเ
- ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
- เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก
- เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา
Post Test
- การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
- การสอนโดยบังเอิญครูต้องพึงปฏิบัติอย่างไร
- ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร
- การให้แรงเสริมต่อเด็ก
แล้วอาจารย์ก็ยังให้ร้องเพลงกันในคาบ และให้กลับไปฝึกร้องเพลงให้ได้
เพลงเก็บเด็ก
การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสามารถนำเพลงที่อาจารย์สอน ไปใช้เก็บเด็กได้จริง เพราะอาชีพ ครูปฐมวัย เราก็ต้องอยู่คู่กับเด็กปฐมวัย แต่ถ้าเราไม่มีเพลงที่จะใช้เก็บเด็กได้ เราก็จะไม่สามารถที่จะคุมชั้นเรียนให้เด็กสนใจในตัวเราได้
การประเมินตนเอง
- แต่งกายเรียบร้อย อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้าง เล่นกับเพื่อนบ้าง แต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และร้องเพลงร่วมกับเพื่อนอย่างเต็มที่
การประเมินเพื่อน
- เพื่อน ๆ ในห้องน่ารัก แต่งกายเรียบร้อย ถึงจะเสียงดังไปบ้างแต่เวลาอาจารย์ถามคำถามก็ช่วยกันตอบอย่างเต็มที่ แล้วก็ร้องเพลงกันอย่างสนุกสนาน
การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์มาสอนตรงเวลา และมีสื่อการสอน เช่น Power Point ทำมาให้นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ระหว่างการสอน อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหา และยกตัวอย่างได้อย่างละเอียด และมีเพลงเก็บเด็กมาให้นักศึกษาเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น