บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 27 มกราคม 2558 ครั้งที่ 3
สิ่งที่ได้รับ
รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- การศึกษาปกติทั่วไป Regular Education
- การศึกษาพิเศษ Special Education
- การศึกษาแบบเรียนร่วม Integrated Education หรือ Mainstreaming
- การศึกษาแบบเรียนรวม Inclusive Education
การศึกษาพิเศษ
การศึกษาพิเศษ หมายถึง การจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสายตา เด็กที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ และสังคม หรือเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการศึกษาแบบเดียวกันกับเด็กปกติ
ดังนั้น การศึกษาพิเศษจึงมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล ส่วนการศึกษาปกตินั้น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อคนปกติทั่วไป
ดังนั้น การศึกษาพิเศษจึงมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล ส่วนการศึกษาปกตินั้น เป็นการจัดการศึกษาเพื่อคนปกติทั่วไป
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ
การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม การเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ นั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบ คือ
1. การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติ โดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา หรือร่วมกิจกรรม ลูกเสือ- เนตรนารี กีฬาสี เป็นต้น คาดหวังว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะมีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ และยังหมายถึงการจัดชั้นเรียนเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ เด็กที่รับบริการในลักษณะนี้มักเป็นเด็กที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ ต้องมีการจัดทำแผนการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคลให้กับเด็ก
2. การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไร เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลา คือ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ผลงานที่ทำในห้องเรียน
เพลงเก็บเด็ก
การนำไปประยุกต์ใช้
- เราสามารถแยกประเภทรูปแบบการจัดการศึกษาได้ ว่า แต่ละรูปแบบแตกต่าง และมีความหมายอย่างไร และเราก็ยังสามารถนำข้อมูลความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ว่าการศึกษาแบบเรียนรวมนั้นมีลักษณะอย่างไร ในหน้าที่และบทบาทของครูต้องจัดการกับเด็กภายในห้องเรียนอย่างไร และทำให้เรารู้วิธีแก้ไขปรับปรุงเพื่อไม่ให้เด็กพิเศษรู้สึกแตกต่างไปจากเด็กปกติ
การประเมินตนเอง
- วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ โดยการให้นักศึกษาวาดรูปดอกชบา โดยจะให้วาดให้เหมือนของจริงมากที่สุด ซึ่งดิฉันก็ชอบทำกิจกรรมแบบนี้ เพราะมันทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่น่าเบื่อในการเรียน และยังได้บรรยายจากรูปภาพ ดอกชบา ตามความรู้สึก ก็เหมือนเราไม่สะท้อนสิ่งที่เราคิดออกมา
การประเมินเพื่อน
- เพื่อน ๆ ในห้องน่ารัก แต่งกายเรียบร้อย ถึงจะเสียงดังไปบ้างแต่เวลาอาจารย์ให้ทำกิจกรรมกัน เพื่อน ๆ ก็ตั้งใจทำ ตั้งใจวาดผลงานของตัวเองเป็นอย่างดี
การประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์จะมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำเสมอ ๆ เพื่อไม่ให้นักศึกษารู้สึกเบื่อกับการเรียน แล้วก็หาเพลงมาให้ให้นักศึกษาทุกครั้ง รวมทั้งยังให้นักศึกษาทบทวนเพลงจากสัปดาห์แรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น